กระบวนการสร้างนมแม่
กระบวนการสร้างนมแม่เกิดจากร่างกายของแม่มีการผลิตฮอร์โมนๆ จากต่อมใต้สมองในการสั่งการสร้างน้ำนมเพื่อเตรียมพร้อมรับทารกที่กำลังจะเกิด ก่อนคลอดทารก ฮอร์โมนเหล่านี้จะทำให้เต้านมของแม่เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้น เช่น เต้านม ฐานนม และหัวนมขนาดใหญ่ขึ้น คัดหน้าอก มีน้ำใสๆ ไหลออกจาหัวนม เป็นต้น ซึ่งเป็นอาการปกติของแม่ตั้งครรภ์ แต่หลังจากคลอดทารกแล้ว กระบวนการผลิตน้ำนมจะมีฮอร์โมน 2 ชนิดที่ควบคุมการสร้างและหลังน้ำนมอย่างชัดเจน คือ โพรแลคตินและออกซีโทซิน
กระบวนการสร้างนมแม่เกิดจากร่างกายของแม่มีการผลิตฮอร์โมนๆ จากต่อมใต้สมองในการสั่งการสร้างน้ำนมเพื่อเตรียมพร้อมรับทารกที่กำลังจะเกิด ก่อนคลอดทารก ฮอร์โมนเหล่านี้จะทำให้เต้านมของแม่เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้น เช่น เต้านม ฐานนม และหัวนมขนาดใหญ่ขึ้น คัดหน้าอก มีน้ำใสๆ ไหลออกจาหัวนม เป็นต้น ซึ่งเป็นอาการปกติของแม่ตั้งครรภ์ แต่หลังจากคลอดทารกแล้ว กระบวนการผลิตน้ำนมจะมีฮอร์โมน 2 ชนิดที่ควบคุมการสร้างและหลังน้ำนมอย่างชัดเจน คือ โพรแลคตินและออกซีโทซิน
โพรแลคติน ฮอร์โมน เป็นฮอร์โมนกระตุ้นให้เกิดการสร้างน้ำนม แต่จะทำงานได้ดีก็ต่อเมื่อทารกดูดนมแม่ แต่หากทารกไม่ได้ดูดนมแม่ หรือไม่ได้ดูดต่อเนื่องบ่อยๆ ฮอร์โมนี้ก็จะลดลงจนทำให้ต่อมใต้สมองไม่ผลิตโพรแลคตินออกมาอีก เต้านมของแม่ก็จะผลิตน้ำนมได้น้อยลงเช่นกันออกซีโทซิน ฮอร์โมน หรือ bonding hormone เป็นฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความรักความผูกพัน ทุกครั้งที่ทารกดูดนมแม่ สมองจะผลิตฮอร์โมนชนิดนี้เพิ่มมากขึ้น ทำให้ความรักความผูกพันระหว่างคุณแม่และลูกน้อยเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ออกซีโทซินยังทำให้แม่มีน้ำนมพุ่งออกจากเต้า เพราะฮอร์โมนจะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อเล็กๆ ที่อยู่รอบๆ ต่อมน้ำนมให้มีการบีบรัดท่อน้ำนมทำให้น้ำนมไหลอย่างต่อเนื่องในขณะที่ทารกดูดนม